ประวัติความเป็นมาของอุทยานฯ



อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัยศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจ อยู่บริเวณภาคเหนือ ตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร ด้านทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพง และพื้นดินที่ขุดขึ้นยังเป็นคูน้ำไว้ใช้สอยและเป็นกำแพงน้ำขึ้น อีก 2 ชั้น กำแพง มีประตูเมือง 4 ประตู ด้านเหนือเรียกว่า "ประตูศาลหลวง" ด้านใต้เรียกว่า "ประตูนะโม" ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ประตูกำแพงหัก" ด้านทิศตะวันตกเรียกว่า "ประตูอ้อ" ภายนอกกำแพงเมืองในรัศมี 5 กม. มีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือ วัดมหาธาตุ  อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายพันคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกแหล่งมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร ์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า  "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)



บริเวณที่ตั้งของจังหวัดสุโขทัยเป็นบริเวณที่ราบตอนล่างของภาคเหนือ ได้ค้นพบหลักฐานการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่พบใน เขตอำเภอศรีนคร อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอคีรีมาศ ซึ่งแสดง ถึงหลักฐานทางชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนเหล่านี้คงอยู่ต่อเนื่องกันและตั้งเป็น บ้านเมืองขึ้นในเวลาต่อมาจนกระทั่ง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100 เป็นต้นมา) ชุมชนบริเวณนี้ได้มีการ ติดต่อกับดินแดนอื่นแถบบริเวณภาคกลางและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมแบบทวารวดี โดยได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย หลักฐานทางศิลปกรรมในเขตเมืองเก่าสุโขทัยที่ศาลตาผาแดง และปรางค์เขาปู่จาในเขตอำเภอคีรีมาศ เป็น หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมเขมรโบราณในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.1700 เป็นต้นมา) และน่าจะเป็น การพัฒนาการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองในวัฒนธรรมเขมร ในบริเวณที่ราบเชิงเขาหลวงเป็นครั้งแรก จนราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ปรากฏเรื่องราวการตั้งตนเป็นอิสระ เพื่อ ปกครองสุโขทัยของกลุ่มชน ซึ่งต่อมาเป็นบรรพชนของคนไทยในปัจจุบัน
อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถมและเริ่ม ชัดเจนมากขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาวพ.ศ. 1781 - 1822) อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช1841) อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วง รัชสมัยของพระองค์มั่นคงมาก ได้ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้น ทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญทั้งด้านประวัติ-ศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย และ อื่น ๆ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือสุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา 

ในการประชุม ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เมื่อ พ.ศ.2534 คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติของโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทาง สถาปัตยกรรมที่ โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2531


แหล่งที่มา :
http://th.wikipedia.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น